Logo
บริษัท ยูโร สแกน จำกัด
EUROSCAN CO.,LTD.
  • 97
  • 704,241

อันตรายจากเครื่องถ่ายเอกสารที่พนักงานออฟฟิศต้องเผชิญ….

29/08/2560 16:48 593

อันตรายจากเครื่องถ่ายเอกสารที่พนักงานออฟฟิศต้องเผชิญ….

                หลาย ๆ คนคิดว่าคนทำงานในออฟฟิศสบายจัง..  ไม่ต้องออกไปเผชิญกับอันตรายข้างนอก นั่งทำงานในห้องแอร์เย็น ๆ  อยู่กับ คอมพิวเตอร์

          แต่คุณรู้ไหม?....... ว่าพนักงานออฟฟิศก็ได้รับอันตรายหลายอย่างจากการนั่งทำงานทั้งวันเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) หรือ โรคนิ้วล็อค (Trigger Finger) จากการนั่งทำงานเป็นเวลายาวนานติดต่อกัน แต่นอกเหนือจากการนั่งทำงานที่เป็นอันตรายแล้วนั้น ยังมีโรคที่เกิดจากเครื่องใช้สำนักงานอีกหลายอย่าง แต่เราจะพูดถึงอันตรายที่เกิดจาก เครื่องถ่ายเอกสาร

                ล้วคุณรู้หรือไม่??   เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นเครื่องใช้สำนักงานที่ส่งผลกระทบกับสุขภาพของคุณในระยะยาว

                นพ.ดร.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ กล่าวว่า ผู้ใช้งานเครื่องถ่ายเอกสารเป็นเวลานาน อาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้ในระยะยาว เนื่องจากเครื่องถ่ายเอกสารมี กลิ่นสารเคมี และ แสงยูวี จากหลอดไฟฟ้าพลังงานสูงที่สะท้อนเข้าดวงตาเสมอขณะถ่ายเอกสาร ซึ่งรังสียูวีดังกล่าวจะทำให้มี อาการปวดศีรษะ แสบตา กระจกตาอักเสบ เกิดผื่นคันตามผิวหนัง นอกจากนี้ โอโซน หากได้รับในระดับความเข้มข้น 0.25 ppm ขึ้นไป จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อตา จมูก คอ หายใจสั้น วิงเวียนและปวดศีรษะ มีอาการล้า และสูญเสียการรับรู้กลิ่น โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคระบบหายใจ เช่น หอบหืด ไม่ควรสัมผัสโอโซน และนอกจากนั้นแล้วยังมี อันตรายอย่างอื่น เช่น ผงหมึก ซึ่งมี 2 แบบ คือ

                                    1. ผงคาร์บอนดำ 100% ผสม กับ พลาสติกเรซิ่นในเครื่องถ่ายเอกสารระบบแห้ง

                                    2. ผงหมึกละลายในสารอินทรีย์ประเภทปิโตรเลียม ในเครื่องถ่ายเอกสารระบบเปียก

            โดยทั้ง 2 อย่าง จัดเป็นสารเคมีอันตราย จึงต้องระมัดระวังขณะเติมหมึก และขณะทำความสะอาดฝุ่นผงหมึกที่ใช้แล้ว ไม่ให้สัมผัสกับผงหมึก หรือ สูดดมเข้าไป ทั้งนี้ หากผงหมึกเปื้อนติดกระดาษเป็นจำนวนมาก ควรหยุดการทำงานเครื่องถ่ายเอกสาร แล้วติดต่อบริษัทฯ เพื่อซ่อมบำรุงทันที เพราะหากสูดดมผงหมึกจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ มีอาการไอ จาม  ส่วนสารเคมีอื่นๆ เช่น เซเลเนียม แคดเมียมซัลไฟด์ ซิงค์ออกไซด์ และ โพลิเมอร์บางตัว ซึ่งเคลือบไว้ที่ลูกกลิ้งในเครื่องถ่ายเอกสาร มีลักษณะเป็นสารเรืองแสง ระเหยออกมาได้ในระหว่างถ่ายเอกสาร โดยปกติปริมาณสารเคมีเหล่านี้มีน้อยเกินกว่าจะตรวจสอบได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้เครื่องถ่ายเอกสารต้องรู้จักวิธีป้องกันตนเอง ปิดฝาครอบให้สนิททุกครั้งหลังใช้งาน หรือ แยกเครื่องถ่ายเอกสารออกจากห้องที่พนักงานทำงาน ติดตั้งพัดลมดูดอากาศในห้องถ่ายเอกสาร ทำการสวมถุงมือทุกครั้งขณะเติม หรือ เคลื่อนย้ายผงหมึก

                นี้คืออันตรายที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว หากคุณไม่ป้องกัน หรือ ระมัดระวังในการใช้งานเครื่องถ่ายเอกสาร อากาศที่คุณสูดดมเข้าไปจะเป็นอากาศที่เป็นพิษค่อย ๆ  สะสมในร่ายกายของคุณจนกระทั้งสิ่งเหล่านั้นส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือชีวิตคุณไปแล้ว

คุณจะรอให้เป็นอย่างนั้นเหรอ...............อยู่ที่คุณ


#เครื่องฟอกอากาศ ,การกรองอากาศ ,อากาศ ,กรองอากาศ,เครื่องฟอกอากาศสำนักงาน,เครื่องฟอกอากาศโรงงาน,เครื่องฟอกอากาศโรงพยาบาล,กรองอากาศบริสุทธิ์,ตักอากาศ,ไทเทเนียมไดออกไซด์,ฆ่าเชื้อด้วย UV 

เอกสารที่แนบ